แม้ว่าภาคการท่องเที่ยวของไทยจะเปิดให้คนเดินทางท่องเที่ย
อ่านข่าวต้นฉบับ: “ท่องเที่ยวเชียงราย” ยังอ่วม ร้องปรับมาตรการ-เยียวยาเพิ่ม

แม้ว่าภาคการท่องเที่ยวของไทยจะเปิดให้คนเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศอย่างตามปกติแล้วแต่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวทุกเซ็กเตอร์ทั่วประเทศยังคงต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนในช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

“พิพัฒน์ รัชกิจประการ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้ลงพื้นที่ไปยังจังหวัดเชียงราย เพื่อรับฟังประเด็นปัญหาของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายเสนอมาตรการเยียวยา 8 ข้อ

โดย “กิตติ ทิศสกุล” ที่ปรึกษาสมาพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า การระบาดของไวรัสโควิดส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายอย่างหนักจึงได้รวบรวมความคิดเห็นของผู้ประกอบการ 8 ข้อ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงของภาครัฐเพื่อเยียวยาผู้ประกอบการท่องเที่ยว ประกอบด้วย

1.ขอให้รัฐกระตุ้นให้เกิดการออกเดินทางภายในประเทศผ่านคำสั่งให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ 2.กระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและความเชื่อในพื้นที่ภาคเหนือ 3.สร้างแบรนด์ทางด้านการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดต่าง ๆ 4.สร้างความเชื่อมั่นในการออกเดินทางท่องเที่ยวให้กับประชาชนคนไทยทั่วประเทศ

5.เปิดการเดินทางระหว่างประเทศแบบ travel bubble โดยเปิดเขตพื้นที่ท่องเที่ยวเฉพาะ อาทิ ภูเก็ต-กระบี่ เชียงใหม่-เชียงราย 6.ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ 7.ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว โดยการรวมกลุ่มชาวต่างชาติที่ตกค้างในประเทศไทย และ 8.จับมือกับประเทศเพื่อนบ้านบริเวณด่านชายแดน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกัน

ด้าน “นงเยาว์ เนตรประสิทธิ์” นายกสมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือจังหวัดเชียงราย บอกว่า ที่ผ่านมาเครือข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงรายได้ทุ่มเทพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่โดยเน้นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยอยากขอให้ภาครัฐเร่งส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจปกติใหม่ในพื้นที่การท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย พร้อมผลักดันเชียงรายให้เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมระดับโลก รวมถึงเชื่อมโยงพื้นที่การท่องเที่ยวในกรอบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ

อัตราเข้าพักโรงแรมร่วงหนัก

ขณะที่ “วิโรจน์ ชายา” นายกสมาคมโรงแรมจังหวัดเชียงราย ให้ข้อมูลว่านับตั้งแต่มีนาคม-กรกฎาคมที่ผ่านมาโรงแรมได้รับผลกระทบอย่างหนักอัตราการเข้าพักเฉลี่ยลดลงไปกว่า 70% จึงต้องการมาตรการเยียวยาจากทางภาครัฐโดยด่วน โดยอย่างแรกที่อยากได้คือมาตรการทางด้านการเงิน เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ พร้อมชดเชยรายได้ให้กับแรงงาน ปรับปรุงเกณฑ์หนี้เสีย (NPL : nonperforming loan) เพื่อเปิดทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและให้โอกาสกับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต รวมถึงให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ช่วยรับรีไฟแนนซ์สินเชื่อวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาทเพื่อให้ผู้ประกอบการลดภาระจากดอกเบี้ยที่ต้องชำระให้กับธนาคารต่าง ๆ

ร้องช่วยลดภาษี

นอกจากนั้น ยังเมองว่ารัฐควรออกมาตรการทางด้านภาษี ทั้งลดภาษีท้องที่และลดค่าธรรมเนียมที่พักปกติคิดห้องละ 1% รวมถึงยกเลิกค่าธรรมเนียมค่าห้องพักจากกระทรวงมหาดไทยที่เรียกเก็บห้องละ 80 บาท ขณะเดียวกันอยากขอให้รัฐเปิดทางให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวสามารถจัดตั้งสหกรณ์ได้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต

“เราเที่ยวด้วยกัน” แป้กคนใช้ต่ำ

“ชาญชัย พัฒนานุภาพ” ประธานชมรมน้ำพุร้อนและสปาจังหวัดเชียงราย บอกว่าโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ว่าเป็นโครงการที่ดี แต่ในจังหวัดเชียงรายมีจำนวนผู้ใช้เราเที่ยวด้วยกันในการจองห้องพักเพียง 7-8% เท่านั้น จากที่คาดว่าจะมีจำนวนผู้ใช้มากกว่า 30-40% ทั้งนี้ เนื่องจากเชียงรายต้องเดินทางโดยสารเครื่องบิน จึงอยากให้รัฐเร่งปรับเงื่อนไขและข้อกำหนดของโครงการใหม่ โดยขยายระยะเวลาโครงการออกไปถึงสิ้นปี 2563 เปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ไกลจากกรุงเทพฯได้รับผลประโยชน์จากโครงการด้วย พร้อมทั้งขอให้ปรับระยะเวลาการจองล่วงหน้าได้ในระยะ 1-2 วัน เพราะคนไทยตัดสินใจ

เดินทางแบบลาสต์มินิต

นอกจากนั้น ยังขอให้ขยายสิทธิในการเข้าพักจาก 5 คืนต่อคนเป็น10 คืนต่อคน เพื่อให้นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายใช้สิทธิได้อย่างเต็มที่ และเพิ่มโอกาสในการมีรายได้มากขึ้นให้กับผู้ประกอบการ และถ้าหากเป็นไปได้อยากขอให้รัฐบาลขยายผู้รับผลประโยชน์ให้ครอบคลุมถึงกลุ่มสปา นวดแผนไทย และอื่น ๆ ด้วย

ปัญหาเก่ายังไม่ได้รับการแก้ไข

ฟาก “ปทุมพร แก้วคำ” นายกสมาคมมัคคุเทศก์จังหวัดเชียงราย ย้ำว่าการเยียวยามัคคุเทศก์ยังคงมาไม่ถึง มัคคุเทศก์ที่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มีจำนวนน้อยมาก และในเดือนสิงหาคมนี้จะเป็นเดือนสุดท้ายที่ผู้ประกอบการได้รับเงินเยียวยาในกลุ่มอาชีพอิสระ จึงอยากให้รัฐผ่อนผันเงื่อนไขในการเข้าถึงเงินกู้ พร้อมทั้งเปิดอบรมฝึกอาชีพเพื่อหาอาชีพอื่น ๆ ให้กับมัคคุเทศก์ก่อนที่ชาวต่างชาติจะกลับเข้าสู่ประเทศไทยได้

เช่นเดียวกับ “สุรนาถ ทวีทรัพย์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี บี ทราเวล เอเจนซี่ เซ็นเตอร์ จำกัด ตัวแทนผู้ประกอบการบริษัทนำเที่ยวจังหวัดเชียงราย ที่ระบุว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวยังไม่ได้รับการเยียวยาจากภาครัฐและไม่มีรายได้ต่อเนื่องมาหลายเดือน รวมถึงไม่สามารถปลดล็อกปัญหาการขอรับเงินคืนจากสายการบินซึ่งทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไม่สามารถไขก๊อกเงินสดออกมาใช้จ่ายหมุนเวียนในบริษัทได้ จึงอยากให้ภาครัฐช่วยในการเจรจากับสายการบิน ขอคืนเงินให้บริษัททัวร์โดยเร็ว

จ่อขยาย “เราเที่ยวด้วยกัน”

“พิพัฒน์ รัชกิจประการ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ให้สัมภาษณ์หลังจากได้รับฟังความเห็นกลุ่มผู้ประกอบการว่า มีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะตัดสินใจขยายมาตรการโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ออกไปจนกว่างบประมาณจะหมด เพื่อส่งอานิสงส์ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ที่ต้องโดยสารด้วยเครื่องบิน รวมถึงพื้นที่ท่องเที่ยวภาคเหนือที่จะมีฤดูการท่องเที่ยวอยู่ในช่วงหลังเดือนตุลาคมเป็นต้นไป

อ่านข่าวต้นฉบับ: “ท่องเที่ยวเชียงราย” ยังอ่วม ร้องปรับมาตรการ-เยียวยาเพิ่ม

Recommend more :

สมาคมโรงแรมยอมแล้ว! ปล่อยผีโรงแรมไม่จดทะเบียนเข้าร่วม “เราเที่ยวด้วยกัน”
เราเที่ยวด้วยกัน จองก่อนปีใหม่ เลื่อนได้ ลุ้นเพิ่ม 1 ล้านสิทธิ์
เช็กที่นี่!! มาตรการจัดประชุม แสดงสินค้า อีเวนต์ งานเทศกาลปลายปี
“การบินไทย” ขายอะไรแล้วบ้าง พยุงกิจการช่วงโควิด
แผนฟื้นฟู “การบินไทย” ป่วน เจ้าหนี้ใหญ่ขวางแฮร์คัต70%
อพท.ดัน “น่านเน้อเจ้า” ก้าวสู่เมืองสร้างสรรค์ยูเนสโกปี’64
สถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล และเกาะของไทย
“หนุ่มสาวทัวร์” เร่งรีสตาร์ตธุรกิจ-รุกหนักแพ็กเกจทัวร์ในประเทศ
พนักงาน “การบินไทย” ลุ้น 8 มี.ค. เปิดโครงสร้าง-เงินเดือนใหม่ เปลี่ยนสัญญาจ้าง
ธปท.คาดโควิดรอบใหม่ ฉุดยอดจองห้องพัก เดือนพฤษภาคม เหลือ 9%
กระทรวงท่องเที่ยว จับมือ สธ. 2 โชว์ความสำเร็จ Villa Quarantine ศรีพันวา ภูเก็ต
“อิตัลไทย” กัดฟันฝ่าพิษโควิด “ธุรกิจโรงแรมไม่มีวันตาย”

Leave a Reply