ชั้น 5 ประชาชาติ ณัฏฐ์พิชญ์ วงษ์สง่า montien_dear@yahoo
อ่านข่าวต้นฉบับ: ทุจริต “เราเที่ยวด้วยกัน” โทษใครดี ? “รัฐ” หรือ “เอกชน”

ชั้น 5 ประชาชาติ
ณัฏฐ์พิชญ์ วงษ์สง่า
montien_dear@yahoo.com

ในที่สุดก็ต้องยอมรับว่ามาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” นั้นเป็นโครงการที่มีปัญหาเรื่อง “ทุจริต” จริง ๆ หลังจากที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตและจับตามองมาสักพักใหญ่

นับตั้งแต่ข้อสังเกตเรื่องงบประมาณ เพราะคำนวณตั้งแต่ต้นแล้วว่า การอุดหนุนค่าห้องพักในอัตราไม่เกิน 3,000 บาทต่อคืน จำนวน 5 ล้านคืน (room night) วงเงิน 15,000 ล้านนั้น หากคำนวณตามตรรกะนี้ ผู้เดินทางต้องเช็กอินห้องพักในราคาสูงถึง 7,500 บาท แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้เดินทางเช็กอินห้องพักเฉลี่ยอยู่ในระดับราคา 2,800 บาทเท่านั้น

นั่นหมายความว่า แม้ว่าจะมีผู้ใช้สิทธิ์ครบ 5 ล้านคืนแล้ว วงเงินงบประมาณที่กันไว้ยังเหลืออีกมหาศาล

บวกกับเงื่อนไขการใช้ที่มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก ทำให้การขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวเป็นไปอย่างล่าช้าและไม่บรรลุตามเป้าหมาย

สุดท้ายรัฐต้องขยายเวลาสิ้นสุดโครงการ และจำนวนการจองใช้สิทธิ์ห้องพักจาก 1 คนจองสิทธิ์ได้ 5 คืนเป็น 10 คืน และล่าสุดเพิ่มเป็น 15 คืน พร้อมทั้งปลดล็อกเงื่อนไขบางข้อเพื่อให้ใช้สิทธิ์ได้ง่ายขึ้น

ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ พอรัฐปลดล็อกเงื่อนไขบางข้อให้ เพื่อให้ใช้สิทธิ์ได้สะดวกขึ้น เช่น สามารถใช้สิทธิ์ภายในภูมิลำเนาของตัวเองได้ ฯลฯ ก็ทำให้ตัวเลขผู้ขอใช้สิทธิ์พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว จากประมาณ 1.4 หมื่นคืนต่อวัน พุ่งขึ้นมาเป็นกว่า 5 หมื่นคืนต่อวัน

กระทั่งมีกระแสข่าว “ทุจริต” เผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ ออกมาเป็นระยะ จนล่าสุดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ต้องออกมาแถลงข่าวยอมรับว่า พบการกระทำที่สงสัยว่าเข้าข่ายจะทุจริตจริง

“ยุทธศักดิ์ สุภสร” ผู้ว่าการ ททท. ระบุว่า จากการเก็บข้อมูลพบว่ามีผู้ประกอบการที่เข้าข่ายส่อทุจริตในส่วนของผู้ประกอบการโรงแรม 312 แห่ง และร้านค้า 202 ร้านค้า

โดยในจำนวนนี้มีการกระทำที่เข้าข่ายสงสัยหลายรูปแบบ เช่น จองพักโรงแรมราคาถูก แต่ไม่ได้เข้าพักจริง เพื่อขอรับคูปองอาหาร 900 บาทสำหรับวันธรรมดา และมูลค่า 600 บาทสำหรับวันสุดสัปดาห์

โรงแรมปรับขึ้นราคาห้องพัก มีการซื้อขายสิทธิ์โดยไม่มีการเดินทางจริง, โรงแรมยังไม่ได้กลับมาเปิดให้บริการแต่มีการขายห้องพัก, เข้าพักจริงเป็นกรุ๊ปเหมา ตั้งราคาสูงเพื่อรับเงินทอน รวมถึงรับจองห้องพักเกินจำนวนห้องพักที่มีอยู่ แล้วให้ลูกค้าไปพักในโรงแรมอื่นเพื่อกินส่วนต่าง ฯลฯ

พร้อมย้ำว่า หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีการทุจริตจริงจะขึ้นแบล็กลิสต์และตัดสิทธิ์ไม่ให้ผู้ประกอบการเหล่านี้เข้าร่วมมาตรการรัฐทั้งหมดในอนาคต รวมถึงเรียกเงินคืนให้รัฐ พร้อมดำเนินคดีด้านกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญา และลงโทษขั้นสูงสุด

ในประเด็นนี้…ถามว่า แนวทางการดำเนินคดีของ ททท.เป็นอะไรที่เข้มข้น หรือผิดไปจากกรณีอื่น ๆ ไหม ?

ส่วนตัวมองว่า การดำเนินการเพื่อฟ้องร้องตามกระบวนการทางกฎหมายแบบนี้ ถือเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่ทุกองค์กรต้องทำอยู่แล้ว ถ้าไม่ทำอะไรเลยซิแปลก !

และหากจะถามว่า ปัญหา “ทุจริต” ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นความผิดของผู้ประกอบการเอกชน หรือเอกชนฝ่ายเดียวหรือเปล่า ก็คงตอบอีกว่า “ไม่ใช่” อีกนั่นแหละ

เพราะอะไร ?

ก็เพราะว่า หากภาครัฐวางกรอบ กติกาที่รัดกุม คิดปิดช่องโหว่ทุกประตูไว้ตั้งแต่ต้นอย่างรอบคอบ ก็คงปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการจะทุจริตได้

หรือมองอีกมุมว่า ผู้ประกอบการที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายทุจริตเหล่านี้สมควรทำแบบนี้หรือไม่ ก็ต้องตอบว่า “ไม่สมควร” เพราะเงินที่รัฐนำมาสนับสนุนนี้เป็นงบประมาณของรัฐ

ที่สำคัญ เป็นเงินงบประมาณที่รัฐตั้งใจใส่ลงมา เพื่อช่วยกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวอยู่แล้ว

แล้วกรณีที่เกิดขึ้นนี้จะโทษใครดี ? ล่ะ ระหว่าง “รัฐ” กับ “เอกชน”

อย่าไปโทษใครเลยค่ะ !

ส่วนตัวผู้เขียนมองว่า ในระหว่างที่รัฐดำเนินการตรวจสอบกลุ่มที่เข้าข่ายทุจริตอยู่นี้ ภาครัฐเองน่าจะลองถอยกลับมาทบทวนว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากอะไร ?

เกิดขึ้นเพราะรัฐยังไม่เข้าใจ “กลไก” ธุรกิจของภาคเอกชนดีพอหรือไม่ หรือตอนที่กำหนดเงื่อนไขนั้นได้เปิดใจรับฟังเอกชนหรือไม่ว่า พวกเขาต้องการอะไร หรือได้ถามหรือไม่ว่า กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ออกมานั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน เมื่อนำไปปฏิบัติจริง หรือมีช่องโหว่หรือไม่ อย่างไร ฯลฯ

และต้องยอมรับด้วยว่า ขณะที่ผู้ประกอบการบางส่วนตั้งใจ “ทุจริต” นั้นก็มีผู้ประกอบการส่วนหนึ่งที่อาจทำไปโดยไม่รู้ว่า “ผิด” ก็ได้

เช่นเดียวกับผู้ใช้สิทธิ์ที่ส่วนหนึ่งอาจตั้งใจสมรู้ร่วมคิดกับผู้ประกอบการทุจริต แต่ก็มีอีกบางส่วนที่อาจทำไปโดยไม่รู้ว่า “ผิด” เช่นกัน

ดังนั้น เมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ทั้ง “รัฐ” และ “เอกชน” ก็ต้องร่วมกันแก้ไข ที่สำคัญ ท่ามกลางวิกฤตเช่นนี้อยากให้ ภาครัฐลองเปิดใจและถามภาคเอกชนอีกสักนิดว่า มาตรการที่ออกมานั้นเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการหรือไม่

และควรดึงเอาความรู้ความสามารถของ “คนท่องเที่ยว” ให้เข้ามาร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อนด้วย เพื่อให้การท่องเที่ยวในภาพรวมเดินหน้าไปพร้อม ๆ กันได้อย่างแท้จริง…

อ่านข่าวต้นฉบับ: ทุจริต “เราเที่ยวด้วยกัน” โทษใครดี ? “รัฐ” หรือ “เอกชน”

Recommend more :

“การบินไทย” ขายอะไรแล้วบ้าง พยุงกิจการช่วงโควิด
คำนวณความคุ้ม จ่าย 1 ล้าน นอนโรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ 365 วัน
ครม. ไฟเขียว 46.48 ล้านบาท “บินไทย” จัดเที่ยวบินขนส่งผู้แสวงบุญพิธีฮัจย์
เช็กที่นี่! มาตรการเยียวยาผู้โดยสาร 4 สายการบินดัง
“การบินไทย” เปิดจองทัวร์ เส้นทางศรัทธาสวดมนต์-บินวน 99 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
“บินไทย” เร่งขาย หุ้นนกแอร์-BAFS-เครื่องยนต์โบอิ้ง-ศูนย์ฝึกอบรมหลักสี่ ดึงเงินสด
สถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล และเกาะของไทย
เที่ยวในประเทศพลิกฟื้น “แอร์เอเชีย” รายได้Q3/63 ขยับ 8% จากไตรมาส2
นกแอร์ ลด 300 บาท ผู้โดยสารถูกยกเลิกเที่ยวบินทุกสายการบิน
ธุรกิจการบินยังเดี้ยง เที่ยวบินสุวรรณภูมิ-ดอนเมืองวูบ 40-60%
บ้านดุสิตธานี รวมพลังขาย ‘ข้าวไข่เจียว’ ราคา 40 บาท คุณภาพโรงแรม 5 ดาว
One Pic Big Dream ภาพหนึ่งภาพ (สามารถ) เปลี่ยนเป็น “แหล่งท่องเที่ยว”

Leave a Reply