ในฟากธุรกิจขนส่งนักเดินทางท่องเที่ยวถือเป็นอีกเซ็กเตอร์
อ่านข่าวต้นฉบับ: “แอร์ไลน์-รถนำเที่ยว” จอดนิ่ง (รอ) “ซอฟต์โลน” พยุงธุรกิจ

ในฟากธุรกิจขนส่งนักเดินทางท่องเที่ยวถือเป็นอีกเซ็กเตอร์หนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นกัน ทั้งในส่วนของสายการบิน (airline) และรถบัสโดยสาร (รถนำเที่ยว) ที่แม้ว่าในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมาจะมีสัญญาณการฟื้นตัวจากท่องเที่ยวภายในประเทศ แต่ยังถือว่าดีมานด์ยังต่ำกว่าภาวะปกติอยู่อีกมาก

โดยจากข้อมูลของกระทรวงคมนาคมเผยว่า ปริมาณเที่ยวบินของสุวรรณภูมิและดอนเมืองนั้นยังคงลดลงอย่างชัดเจน กล่าวคือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปริมาณเที่ยวบินลดลงจากเฉลี่ย 1,200 เที่ยวบิน/วัน เหลือเฉลี่ย 480 เที่ยวบิน/วัน ส่วนท่าอากาศยานดอนเมือง ลดลงจากปริมาณเที่ยวบินปกติเฉลี่ย 800 เที่ยวบิน/วัน เหลือเฉลี่ย 450 เที่ยวบิน/วัน

สอดรับกับข้อมูลจากบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ที่ระบุว่า ตัวเลขการใช้บริการของท่าอากาศยานหลักของไทยในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา พบว่า จำนวนเที่ยวบินท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลดลง 60.2% ส่วนท่าอากาศยานดอนเมืองลดลง 51.9% ขณะที่จำนวนผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลดลง 72.7% ท่าอากาศยานดอนเมืองลดลง 62.0%

แน่นอนว่าผู้ประกอบการสายการบินทุกรายได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยที่ผ่านมาผู้ประกอบการสายการบินในไทย 7 ราย ประกอบด้วย ไทยแอร์เอเชีย, ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์, ไทยสมายล์แอร์เวย์, ไทยไลอ้อนแอร์, ไทยเวียตเจ็ท, นกแอร์และบางกอกแอร์เวย์ส ได้รวมตัวกันเข้ายื่นหนังสือต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เพื่อขอให้รัฐบาลพิจารณามาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจการบินของประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อเดือนสิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา

โดยขอให้รัฐบาลสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ประกอบการสายการบินวงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท แต่รอแล้วรอเล่าถึง ณ วันนี้ ซอฟต์โลนดังกล่าวก็ยังไม่ออกมา

ล่าสุดกลุ่มผู้ประกอบการทั้ง 7 รายได้ปรับลดลงเงินกู้ซอฟต์โลนจาก 2.4 หมื่นล้านบาทลงมาเหลือ 1.4 หมื่นล้านบาทไปยังกระทรวงการคลังไปอีกครั้งเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2563 โดยขอกู้เงินสำหรับการจ่ายเงินเดือนพนักงานของทั้ง 7 สายการบิน เพื่อพยุงการจ้างงาน เพราะเวลานี้เครื่องบินของสายการบินต่าง ๆ ยังคงจอดนิ่งอยู่ในลานจอดจำนวนมาก

เช่นเดียวกับกลุ่มผู้ประกอบการรถขนส่ง (รถนำเที่ยว) ที่ให้ข้อมูลว่า ภาวะที่เกิดขึ้นในปีนี้ถือว่าหนักที่สุด ปริมาณการใช้รถลดลงในทุก ๆ ตลาด โดยเฉพาะในส่วนของตลาดอินบาวนด์ (ต่างชาติเที่ยวไทย) ที่หยุดไปทั้งระบบ ขณะที่ตลาดไทยเที่ยวไทยลดลง 50-60%

พร้อมทั้งประเมินว่า หากภาครัฐไม่อัดซอฟต์โลนเข้ามาช่วย ผู้ประกอบการกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดนอกจากจะเป็นเอ็นพีแอลแล้วยังมีกลุ่มที่ล้มหายตายจากไปอีกจำนวนมากด้วย

พร้อมย้ำว่าวิกฤตครั้งนี้ส่งผลให้ธุรกิจในภาคขนส่ง (รถนำเที่ยว) ทั้งระบบเสียหาย ขาดรายได้มาตลอด 8-9 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท และกระทบภาคแรงงานทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นคน ที่ต้องสูญเสียรายได้

โดยที่ผ่านมาทางสมาคมก็ได้ยื่นขอความช่วยเหลือจากภาครัฐผ่านกรมการขนส่งฯ อาทิ ขอ soft loan โดยใช้ทะเบียนรถเป็นหลักค้ำประกันแทนการยื่นหลักทรัพย์, ให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องออกมาตรการให้บริษัทไฟแนนซ์ลีสซิ่ง รถยนต์ทุก ๆ สังกัดช่วยเหลือเยียวยาและผ่อนปรนการชำระค่างวดรถยนต์ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการ รวมถึงยกเว้นค่าต่อภาษี ค่าประกันภัย และ GPS ประจำปี สำหรับรถยนต์ที่จอดไม่ได้ใช้งานในช่วงวิกฤตนี้ เป็นต้น

เรียกว่า “ซอฟต์โลน” คือ ความหวังเดียวของกลุ่มผู้ประกอบการกลุ่มแอร์ไลน์และรถขนส่งในเวลานี้…

อ่านข่าวต้นฉบับ: “แอร์ไลน์-รถนำเที่ยว” จอดนิ่ง (รอ) “ซอฟต์โลน” พยุงธุรกิจ

Recommend more :

โผไม่พลิก! “โกจง-ชำนาญ ศรีสวัสดิ์” นักธุรกิจแดนใต้คว้าประธาน สทท.คนใหม่
เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 เปิดจองใช้สิทธิ์ 17 พ.ค. เช็กเงื่อนไขที่นี่
เปิดคำถาม “เราเที่ยวด้วยกัน” จากการลงทะเบียน
“รี้ดเทรดเด็กซ์” รุกปรับกลยุทธ์ รับเทรนด์ใหม่ “งานแสดงสินค้า” หลังโควิด
มิติใหม่ “มาตรฐาน” เที่ยวไทย ต่างชาติเข้าไทยจ่าย 300 เข้ากองทุน
รมต.พิพัฒน์ ชี้โควิดระลอกใหม่กระทบสั้น คาดเที่ยวในประเทศฟื้นแน่ มี.ค.นี้
“ไทย เทสต์ ฮับ มหานคร คิวบ์” เสิร์ฟเมนูระดับมิชลินเอาใจคน WFH
“ดิเอราวัณ” โหมลงทุนฮ็อปอินน์ ดันขึ้น No.1 “บัดเจตโฮเทล” เอเชีย-แปซิฟิก
“ไทยเวียตเจ็ท” รุกเพิ่มเส้นทางบินหนุนการเดินทางภายในประเทศ
“ชาญศิลป์” เคลียร์เจ้าหนี้ลงตัว สหกรณ์หนุนแผนฟื้นฟูการบินไทย
นกแอร์ กักตัว นักบิน-ลูกเรือ ไฟลท์เชียงราย เฝ้าระวังโควิด
กต.ยันยกเลิกใบ COE เข้าประเทศ 1 พ.ย.นี้ วงในชี้ Thailand Pass ไม่ตอบโจทย์

Leave a Reply