เป็นความพยายามของภาคธุรกิจท่องเที่ยวมาตั้งแต่กลางปี 256
อ่านข่าวต้นฉบับ: ลุ้น “โกดังพักหนี้” ความหวัง-ทางรอด โรงแรมไทย

เป็นความพยายามของภาคธุรกิจท่องเที่ยวมาตั้งแต่กลางปี 2563 ที่ผ่านมา ที่ต้องการให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านบาท เพื่อช่วยเหลือ พัฒนา และฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยทั้ง 13 สาขาอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการโรงแรมซึ่งเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าการลงทุนสูงและต้องปิดให้บริการชั่วคราวกันไปเป็นจำนวนมากนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดเมื่อต้นปี 2563 กระทั่งถึงปัจจุบัน และส่งผลให้มีแรงงานตกงานมากกว่า 1 ล้านคน

ดันโกดังพักหนี้แทนตั้งกองทุน

ล่าสุด “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงการคลังกำลังเร่งหาข้อสรุปเพื่อออกแพ็กเกจใหญ่มาตรการดูแลภาคท่องเที่ยวที่ครอบคลุมทุกซัพพลายเชน โดยจะพยายามให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้

โดยมาตรการหลักที่จะขับเคลื่อนแน่ ๆ คือ โครงการ “โกดังพักหนี้” หรือ Asset Warehousing พักหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3-5 ปี ซึ่งลูกหนี้ต้องตีโอนสินทรัพย์ให้กับธนาคาร เพื่อยุติการเป็นหนี้ และหยุดภาระต้นทุนทางการเงิน ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย จากนั้นลูกหนี้สามารถทำสัญญาเช่าดำเนินกิจการได้ สุดท้ายมีสิทธิซื้อสินทรัพย์คืนจากธนาคารเป็นรายแรกในเวลาที่กำหนด

เครื่องมือใหม่ทางการเงิน

แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการโรงแรมรายหนึ่งบอกกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตอนนี้ผู้ประกอบการโรงแรมได้รับจดหมายจากทางสมาคมโรงแรมไทย (THA) ถึงความคืบหน้าของโครงการ “แอสเสต แวร์เฮาซิ่ง” กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินแล้ว พร้อมทั้งแจ้งให้ทางสมาชิกสมาคมกรอกแบบสอบถามเพื่อประเมินความสนใจของผู้ประกอบการและส่งกลับภายในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ เพื่อประเมินความต้องการของมูลค่าหนี้ที่ผู้ประกอบการต้องการเข้าร่วมในการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย

ทั้งนี้ มองว่าโครงการดังกล่าวนับเป็นเครื่องมือทางการเงินที่มีความเหมาะสมกับลักษณะปัญหาของผู้ประกอบการโรงแรมที่ไม่สามารถผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงที่ธุรกิจไม่สามารถกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ ขณะที่สินทรัพย์ยังมีมูลค่าสูง มีความเป็นไปได้
ที่จะตีโอนทรัพย์กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินเดิมเพื่อยุติการเป็นหนี้ และหยุดภาระต้นทุนทางการเงินชั่วคราว

“ทางรอด-ความหวัง” โรงแรม

ขณะที่ผู้ประกอบการยังมีสิทธิซื้อคืนสินทรัพย์เป็นอันดับแรกด้วยราคาต้นทุนที่ตีโอนบวกค่าใช้จ่ายของสถาบันการเงินในการถือครองทรัพย์ในระดับต่ำ ขณะเดียวกันในช่วงระหว่างพักชำระหนี้นั้น ผู้ประกอบการยังสามารถเช่าจากสถาบันการเงินมาดำเนินกิจการต่อได้

“ส่วนตัวมองว่าโครงการดังกล่าวจะเข้ามาช่วยให้ผู้ประกอบการลดต้นทุนทางการเงิน และทำให้มีศักยภาพในการกลับมาจ้างงานและเปิดให้บริการอีกครั้งได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญน่าจะเป็นโครงการที่สร้างความหวังและเพิ่มทางรอดให้กับผู้ประกอบการท่องเที่ยวในเวลานี้” แหล่งข่าวย้ำ

“วิชิต ประกอบโกศล” นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) ในฐานะผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมรายหนึ่งมองว่า เป้าหมายของโครงการนี้น่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจโรงแรมเป็นหลัก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีสินทรัพย์ที่สามารถจับต้องได้ สมาคมอื่น ๆ อาจยังไม่ได้รับประโยชน์โดยตรง ซึ่งส่วนตัวที่เป็นสมาชิกของสมาคมโรงแรมไทยก็ได้รับจดหมายให้ทำแบบสอบถามความต้องการในการเข้าร่วมโครงการเช่นกัน

“เรื่องนี้ที่ผ่านมาสมาคมโรงแรมไทยผลักดันอย่างเต็มที่มาโดยตลอด ซึ่งสถานะของผู้ประกอบการตอนนี้ใคร ๆ ก็อยากพักหนี้ ดังนั้นนอกจากโรงแรมซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่ต้องการพักหนี้แล้ว อยากให้โครงการนี้เข้าถึงสมาชิกของสมาคมท่องเที่ยวอื่น ๆ ด้วย เช่น สมาคมแอตต้าเองก็มีสมาชิกจำนวนหนึ่งที่มีสินทรัพย์ชัดเจน เช่น กลุ่มผู้ประกอบการแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น”

“วิชิต” ยังบอกด้วยว่า แนวทางของโครงการนี้ถือว่าเป็นการสร้าง “ทางออก” ที่ดีให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ เพราะนอกจากจะช่วยทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องกังวลด้านต้นทุนในเรื่องของการชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแล้วยังเป็นทางที่ช่วยให้ผู้ประกอบการแบกรับดอกเบี้ยในอัตราที่ถูกลงด้วย และไม่ต้องลุ้นว่ารัฐจะต่อมาตรการพักหนี้ทุก 3-6 เดือน และการถูกทวงหนี้ทุกเดือน ขณะเดียวกันทางธนาคารก็ไม่ได้เสียหายมาก ขาดทุนกำไรบ้าง แต่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องหนี้เสีย

เช่นเดียวกับผู้ประกอบการโรงแรมระดับ 4 ดาวรายหนึ่งที่กล่าวว่า โครงการดังกล่าวถือเป็นแนวทางที่ดีที่จะช่วยโรงแรมที่ไม่อยากขายให้สามารถเดินหน้าต่อได้ แม้ว่าจะต้องโอนสิทธิความเป็นเจ้าของให้ธนาคารเจ้าหนี้ เพราะเจ้าของเดิมยังสามารถเช่ากลับมาดำเนินธุรกิจต่อได้

“ที่ผ่านมาธนาคารเองต่างก็พยายามคิดหามาตรการช่วยเหลือลูกค้าของตัวเองมาตลอด เพราะไม่อยากให้เป็นหนี้เสีย และที่คิดว่าดีคือเป็นโครงการของรัฐ ซึ่งไม่ได้หวังผลกำไรเมื่อเทียบกับกองทุนต่างชาติหรือกองทุนเอกชนที่ต้องแสวงหากำไร”

แนวโน้มภาพรวมเริ่มดีขึ้น

ด้าน “มาริสา สุโกศล หนุนภักดี” นายกสมาคมโรงแรมไทย (THA) บอกว่า สถานการณ์โดยรวมขณะนี้มีหลาย ๆ ประเด็นที่เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นแล้ว ซึ่งล้วนช่วยให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยน่าจะค่อย ๆ กลับมาดีขึ้น อาทิ กระแสการเริ่มกลับมาเดินทางท่องเที่ยวของกลุ่มคนไทย การประชุมสัมมนาของภาครัฐ การอนุญาตจำหน่ายแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร (รอลุ้น) ฯลฯ

ขณะที่ตลาดต่างประเทศนั้นก็เริ่มมีสัญญาณของการผ่อนปรนด้านการเดินทางและการกักตัวมากขึ้น รวมถึงความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสัญญาณต่าง ๆ เหล่านี้น่าจะช่วยประคับประคองให้ธุรกิจโรงแรม ท่องเที่ยวสามารถเดินต่อไปบ้าง

คงต้องรอลุ้นกันว่า โครงการ “โกดังพักหนี้” หรือ Asset Warehousing ที่หวังกันว่าจะเป็น “เครื่องมือ” สำคัญที่จะช่วยให้โรงแรมของไทยได้กลับมาเปิดดำเนินการและเดินหน้ากันได้อีกครั้งนั้นจะมาต่อ “ลมหายใจ” ให้ผู้ประกอบการได้ทันเวลาหรือไม่…

อ่านข่าวต้นฉบับ: ลุ้น “โกดังพักหนี้” ความหวัง-ทางรอด โรงแรมไทย

Credit ข่าวและภาพจาก ฟีดข่าวประชาชาติ : https://www.prachachat.net

Recommend more :

สัญญาณ Work From Home ! ททท. ให้พนักงานทำงานที่บ้าน 4-17 ม.ค. 64
แอร์เอเชีย จัดโปรฯ ตั๋วบินรัว ๆ ทั่วไทย 3,599 บาท ใช้ได้ 9 เดือน
ลุ้น “วัคซีน” 15.5 ล้านโดส ปูพรม 10 เมืองท่องเที่ยวนำร่อง
“การบินไทย” ยันดูแลพนักงานทุกคนภายใต้กรอบกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
การบินไทยหมดสิทธิ์บริหารภาคพื้นสนามบินภูเก็ต การท่าฯ ส่ง AOTGA เสียบแทน
เที่ยวในประเทศพลิกฟื้น “แอร์เอเชีย” รายได้Q3/63 ขยับ 8% จากไตรมาส2
ไทยเวียตเจ็ท อัดโปรฯบินคุ้มรับหน้าหนาวซื้อ 699 แลกส่วนลดได้ 1 พัน
“สภาท่องเที่ยว & หอการค้า” เร่งมาตรการอุ้ม “ท่องเที่ยว”
เส้นทางคนโสด เต็มแล้ว 3 ทริป โสดอย่างเดียวไม่พอ ต้องเร็วด้วย
เส้นตายยื่นแผนฟื้นฟู “การบินไทย” วันนี้ (2 มี.ค.) “คลัง” ไม่ฟันธงเพิ่มทุน
“คลัง” ไม่แฮร์คัตหนี้ “การบินไทย” หาช่องเพิ่มทุนเสริมสภาพคล่อง
ททท.หวั่น Q1 สูญ 1.3 แสนล้าน งัดแผนเฉพาะกิจรับมือ-ขาย ตปท.มีนานี้

Leave a Reply