แม้ “ถาวร เสนเนียม” อดีตรัฐมนตรีช่วยคมนาคม จะไม่สามารถ
อ่านข่าวต้นฉบับ: การบินไทย : เบื้องหลัง-เบื้องหน้า ภารกิจในศาลล้มละลายกลาง

แม้ “ถาวร เสนเนียม” อดีตรัฐมนตรีช่วยคมนาคม จะไม่สามารถ “เชิดหัว” บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ภายใต้แผนฟื้นฟู-แผนพลิกธุรกิจการบินให้ “พลิกฟื้น” กลับมา “เทคออฟ” อีกครั้งได้ จนต้องเดินเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ

ทว่า “ถาวร” ยังคงเป็นห่วง “สายการบินแห่งชาติ” ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอ้อมอก “ศาลล้มละลายกลาง”

“ถาวร” เล่าเบื้องลึก-เบื้องหลัง “การบินไทย” ในวันที่ต้องเดินเข้าสู่แผนฟื้นฟู-ศาลล้มละลายกลาง ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดทำแผนฟื้นฟู-แผนธุรกิจการบิน เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายฟื้นการบินไทยให้จงได้

ทว่าเมื่อไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากภายหลัง มติครม.-มติบอร์ดการบินไทยมีมติให้การบินไทย ซื้อเครื่องบินเพิ่ม จำนวน 25 ลำ วงเงิน แสนกว่าล้าน แต่ไม่สามารถเดินไปได้ เพราะแผนธุรกิจการบินและแผนฟื้นฟู ไม่ปรากฏการซื้อเครื่องบินเพิ่มเติม เพราะไม่ตอบโจทย์ที่ “ถาวร” ตั้งโจทย์ไปจึงสั่งชะลอ

“ในช่วงนั้นปรากฏว่าฝ่ายคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีนายประภาศ คงเอียด เป็นเลขาฯ ไปกำหนดแผนฟื้นฟูการบินไทย ไว้ว่า ให้กู้เงินอีก 5.4 หมื่นล้านบาท และออกหุ้นกู้ปลายปี 63 อีก 8.3 หมื่นล้านบาท”

“ผมได้เชิญ ดีดีการบินไทย คุณสุเมธ (ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่) และ พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ประธานบอร์ดมาตั้งโจทย์ มอบคำถามว่า 5.4 หมื่นล้านบาท สามารถฟื้นกิจการได้ไหม ในเดือนพ.ค.ที่จะกู้ โดยรัฐบาลค้ำประกันและ การออกหุ้นกู้ 8.3 หมื่นล้านบาท ปลายปี 63 จะทำให้การบินไทยกลับคืนสภาพเดิมหรือไม่ ให้เขียนแผนมา ซึ่งปรากฏว่าเขียนแผนไม่ได้”

“เมื่อเขียนแผนให้ผมพึงพอใจไม่ได้ ก็ปรากฏว่าเกิดโควิด-19 ในห้วงนั้น การทำธุรกิจการบินต้องหยุดชะงัก ยกเว้นบางกิจกรรม นั่นคือ เที่ยวบินพิเศษ กับ การขนส่งสินค้า”

“ถาวร” ในฐานะรมช.คมนาคม “โควตาพรรคประชาธิปัตย์”  เล่าว่า “ฟางเส้นสุดท้าย” ที่ทำให้การตัดสินใจนำ “การบินไทย” เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการในศาลล้มละลายกลาง คือ ความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน-ความอุ้ยอ้าย-เทอะทะของการเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ”

“ปรากฏว่า การบินไทยประชุมร่วม 3 กระทรวง 4 สัปดาห์ก็ไม่สามารถหาต้นทุนได้ เป็นเหตุให้เกิดความล่าช้า ผมเห็นประสิทธิภาพการทำงานแบบนี้เกิดจากอะไร เกิดจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ”

“ผมได้หารือกับท่านศักดิ์สยาม (ชิดชอบ รมว.คมนาคม) ว่า ถ้ายังเป็นรัฐวิสาหกิจ การฟื้นกิจการของการบินไทย คงจะยาก เมื่อยากจะทำยังไง ก็ต้องทำให้ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ”

“ได้ปรึกษากันและไปกราบเรียนท่านนายกฯ ว่า โอนหุ้นกระทรวงการคลังไปเป็นของกองทุนวายุภักษ์ จากกระเป๋าซ้าย สู่กระเป๋าขวา แต่เปลี่ยนสถานะความไม่เป็นรัฐวิสาหกิจจะมาเป็นบริษัทจำกัดตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ก็น่าจะคล่องตัวขึ้น”

“เพราะเราเห็นตัวอย่างของการตัดสินใจที่จะขนส่งทุเรียนและผลไม้ไปยังประเทศผู้ซื้อ 4 อาทิตย์ยังตัดสินใจไม่ได้ ในขณะที่สายการบินเอกชนสามารถทำได้เร็ว 1 สัปดาห์ส่งได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ ทุกฝ่ายเห็นด้วย ท่านนายกฯ เห็นด้วย”

เมื่อ 26 พ.ค.63 นำเข้า ครม. และ ครม.เห็นชอบ ให้เปลี่ยนแปลงอัตราการถือหุ้นและเปลี่ยนสภาพจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจำกัด ภายใต้การบริหารความรับผิดชอบของผู้บริหารและบอร์ด

นอกจากประสิทธิภาพในการดำเนินงานของการบินไทยแล้ว ยังพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นในองค์กรระดับประเทศ กัดกินทรัพย์สิน-สมบัติของชาติ

“ในห้วงก่อนนั้น ผมได้ตรวจพบว่า มีการส่อทุจริตก็ตั้งคณะทำงานขึ้นมาในการตรวจสอบการทุจริต พบการทุจริตเยอะแยะมากมาย และการประกอบธุรกิจที่ไม่มีประสิทธิภาพ เส้นทางการบินที่บินขาดทุน 3 ปีติดต่อกัน อย่างน้อย 2-3 เส้นทาง”

“ใช้ Agency ในการจำหน่ายตั๋ว ต้นทุนในการจำหน่ายตั๋วแพง ส่งผลให้เกิดการขาดทุน หรือ มีการซื้อสินค้าบางตัว ซื้อเครื่องบิน ซื้ออะไหล่ ซื้อเครื่องยนต์ ส่อไปในทางทุจริต”

“โฟกัสไปที่ Air bus A340 ซื้อในยุคทักษิณ ตรวจพบว่ามีการส่อทุจริตหลายหมื่นล้าน และการนำเครื่องบินชนิดนี้มาบิน ไทย-อเมริกา ไทย-อเมริกา ขาดทุนไปหลายหมื่นล้าน”

“เมื่อผมไม่ได้กำกับก็ส่งผลของการตรวจสอบ ตรวจพบจากคณะทำงาน 33 คน ที่เป็นคณะทำงานของผม ส่งให้ท่านนายกฯ เพราะนายกฯ เป็น เบอร์ 1 ของการบริหารแผ่นดินและเป็นผู้ผลิตนโยบายปฏิรูประเทศไทย 1 ใน 6 คือ การป้องกันและปราบปรามการทุจริต และองค์กรที่สองที่ส่งให้ คือ ป.ป.ช. ซึ่งเชิญไปให้คำให้การเพิ่มเติม 3 ครั้งแล้ว ตอนนี้รอผล”

“นี่เป็นสิ่งที่เรายังเป็นห่วง เพราะหลังจากไม่เป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว แนวทางที่เราเสนอ คือ นำเข้าสู่กระบวนการศาลล้มละลาย ซึ่งคาดหวังว่าบริษัทจะได้ฟื้นมาอีกทีหนึ่ง”

“ถาวร” ยังคงติดตามการฟื้นฟู-พลิกฟื้นของการบินไทย และธุรกิจการบินในประเทศจะ “เทคออฟ” ในปี 64-65 ขณะที่ระหว่างประเทศปี 66-67

“เมื่อมีการฉีดวัคซีน การเดินทางก็จะกลับมาสู่ปกติเหมือนปี 62 ที่มีเครื่องบินบินเข้ามาในประเทศไทยปีละ 1.04 ล้านเที่ยว เมื่อมาถึงจุดนั้น รายได้ปี 1.5 แสนล้านบาทไม่ใช่เรื่องเล็กสำหรับอุตสาหกรรมการบิน”

“ถาวร” ที่สถานภาพปัจจุบันเป็นเพียงผู้โดยสารการบินไทย เฝ้ามองการบินไทยพลิกฟื้นกลับมาเป็นสายการบินของคนไทยอีกครั้ง ภายใต้ความคาดหวัง ว่า การฟื้นกิจการหรือการทำให้องค์กรทางธุรกิจมีกำไรได้ คือ ต้องลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ ใช้คนให้น้อยที่สุด แต่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สินทรัพย์ที่มีอยู่จะต้องเอาไปบริหารให้เกิดรายได้

“อาคาร ที่ดิน ที่เก็บทิ้งไว้ ให้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ให้เขาเช่า ร่วมมือกันพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่ดิน ส่วนคนใช้เขาให้เต็มศักยภาพ”

“ข้าวของ เครื่องไม้ เครื่องมือ อะไหล่เครื่องยนต์ที่ซื้อเก็บไว้ในโกดัง ต้องจ่ายค่า ซ่อมบำรุง ค่าเก็บรักษาก็ต้องนำมาหาผลประโยชน์”

“เครื่องบินที่จอดอยู่ 20 กว่าลำ ตอนนี้อาจจะต้องจอด 40 กว่าลำ 50 กว่าลำ ก็ต้องเร่งถ่าย เพราะจอดไว้ ต้องจ่ายค่าจอด จ่ายค่าซ่อมบำรุง จ่ายค่าประกัน”

อ่านข่าวต้นฉบับ: การบินไทย : เบื้องหลัง-เบื้องหน้า ภารกิจในศาลล้มละลายกลาง

Credit ข่าวและภาพจาก ฟีดข่าวประชาชาติ : https://www.prachachat.net

Recommend more :

อ่วม! การบินไทยขาดทุนไตรมาส 3/63 กว่า 21,500 ล้านบาท
“ไทยเวียตเจ็ท” จับมือมูลนิธิสืบฯ เปิดตัว Fly Green Fund ระดมทุนดูแลสิ่งแวดล้อม
“คาเธ่ย์ แปซิฟิค” จัดแคมเปญ บัตรโดยสารสำหรับนักเรียน
เริ่มแล้ว! เปิดวิธีลงทะเบียนรับส่วนลด “เราเที่ยวด้วยกัน” 1 ล้านสิทธิ
คิกออฟ ‘ภูเก็ต แชนด์บ็อกซ์’ ฟื้น ‘เศรษฐกิจ’ ต่อชีวิตคนท่องเที่ยว
อพท.ยกระดับชุมชนท่องเที่ยว! ผนึกยูเนสโกใช้ VMAT จัดการแหล่งท่องเที่ยวครั้งแรกของไทย
ดาราเทวี เชียงใหม่ เปิดขายทอดตลาด เริ่มต้น 2,116 ล้านบาท
โละล็อตใหญ่! “การบินไทย” ประกาศขายเครื่องบิน รวม 34 ลำ
ททท.เดินแผน “ควิกวิน” ปลุกเที่ยวในประเทศ-วันธรรมดา
เร่งคิกออฟไทยเที่ยวไทย หนุน “ผู้ประกอบการ” รอด
“โลเคเนชั่น” เปิดแพลตฟอร์ม ศูนย์รวมโรงแรมกักตัว ASQ Paradise
“การบินไทย” โครงสร้างใหม่ป่วน ฐานเงินเดือนร่วง ลุ้นสัญญาจ้างใหม่

Leave a Reply