ลูกค้าสายการบินตั้งข้อสังเกต มาตรการเยียวยาที่ดูเหมือนจ
อ่านข่าวต้นฉบับ: มาตรการเยียวยา-แท็กติก? ของ “สายการบิน” บางสาย

ลูกค้าสายการบินตั้งข้อสังเกต มาตรการเยียวยาที่ดูเหมือนจะไม่เยียวยาของบางสายการบิน ระหว่างที่ ศบค.ขอให้ประชาชนงดการเดินทางข้ามจังหวัด 

วันที่ 11 มกราคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานกรณี ศบค. ประกาศพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือพื้นที่สีแดง ใน 28 จังหวัด พร้อมระบุ 8 ข้อกำหนดสำหรับประชาชน หนึ่งในนั้นคือ “ให้งดการเดินทางข้ามจังหวัด และให้ตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัดจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด” ขณะที่บางจังหวัดมีคำสั่งให้ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่สีแดงต้องกักตัวเป็นเวลา 14 วัน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

ความไม่สะดวกเรื่องการทำเอกสารและการกักตัว 14 วัน เมื่อถึงปลายทาง ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมาก ตัดสินใจยกเลิกการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นทางรถโดยสาร รถไฟ หรือเครื่องบิน

อย่างไรก็ตาม การที่ “รัฐบาล” ยังไม่ประกาศปิดสนามบิน ซึ่งหมายความว่าประชาชนยังสามารถเดินทางได้ เพียงแต่ขอความร่วมมือให้ “งด”

บรรดา “สายการบิน” ต่าง ๆ จึงต้องออกมาตรการเยียวยาให้ผู้โดยสารเอง ดังนี้

1.สายการบินไทยสมายล์ 

2.สายการบินนกแอร์ 

3.สายการบินไทยไลอ้อนแอร์

4.สายการบินแอร์เอเชีย

5.สายการบินไทยเวียตเจ็ท

จากการตรวจสอบพบว่า มาตรการเยียวยาของสายการบินต่าง ๆ ส่วนใหญ่เน้นการเปลี่ยนแปลงวันเดินทางหรือเลื่อนการเดินทาง โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม รวมถึงการเก็บวงเงินในรูปแบบ “เครดิต” สำหรับการเดินทางครั้งต่อไป

แต่กระบวนการเปลี่ยนแปลง หรือเลื่อนไฟลต์ เต็มไปด้วยขั้นตอนและรายละเอียด ที่ทำให้ผู้โดยสารส่วนใหญ่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ทำให้เกิดกระแสเข้าไปวิพากษ์ วิจารณ์ขั้นตอนต่าง ๆ ในหน้าเพจของสายการบินหลายแห่ง

ขณะที่ลูกค้าของสายการบินรายหนึ่ง สะท้อนปัญหาเรื่อง “การเลื่อนวันเดินทาง” ระบุว่า ก่อนที่จะมีการระบาดรอบใหม่ เธอได้ซื้อตั๋วเครื่องบินเดินทางไปจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคใต้ ราคา เที่ยวละ 500-700 บาท (ไม่รวมค่าชำระเงินผ่านบัตรเครดิต)

กระทั่งพบการระบาดที่ จ.สมุทรสาคร ทางสายการบินประกาศว่าผู้โดยสารสามารถเลื่อนเที่ยวบินฟรี จึงเข้าไปตรวจสอบรายละเอียดพบว่า การให้เลื่อนเที่ยวบินฟรีของสายการบินนี้ มีเงื่อนไขหลายข้อ เช่น ให้เลื่อนเที่ยวบินได้จนถึงปลายเดือนมีนาคม ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นก็ยังไม่มั่นใจว่าการแพร่ระบาดจะยุติลงแล้วหรือไม่

นอกจากนี้ ยังมีเงื่อนไขเรื่อง “การเสียส่วนต่างค่าโดยสาร” ซึ่งเมื่อตรวจสอบพบว่า ราคาค่าตั๋วในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน พุ่งขึ้นจากเที่ยวละ 500-700 บาท เป็น 3,000-5,000 บาท

ระหว่างที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกวิธีเยียวยาให้ตัวเองแบบใด ทางสายการบินได้ส่งอีเมลแจ้งเธอว่า เที่ยวบิน “ขาไป” ของเธอนั้น ได้ “ยกเลิก” แล้ว เหลือเพียง “ขากลับ” เท่านั้น ซึ่งลูกค้ารายนี้มองว่าเป็นวิธีการที่สายการบินพยายามบีบให้ลูกค้าต้อง “เลื่อนวันเดินทาง” โดยไม่ได้รับเงินคืนไปโดยปริยาย

ลูกค้ารายเดียวกันนี้ตั้งข้อสังเกตว่า การประกาศของรัฐบาลที่คลุมเคลือ ว่าให้งดหรือชะลอการเดินทาง ทำให้สายการบินต้องทำตามนโยบายแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ

ในทางกลับกันหากรัฐบาลประกาศปิดสนามบินอย่างเป็นทางการ และมีมาตรการเยียวยาให้ธุรกิจสายการบินและผู้โดยสาร แท็กติกทำนองนี้คงไม่เกิดขึ้น

 

 

อ่านข่าวต้นฉบับ: มาตรการเยียวยา-แท็กติก? ของ “สายการบิน” บางสาย

Recommend more :

“ศักดิ์สยาม” เผยสนามบินภูเก็ตพร้อมรับนักท่องเที่ยว-นักธุรกิจกลุ่มพิเศษ
“ไทยไลอ้อน” รายได้วูบ-วอนรัฐช่วยซอฟต์โลนพยุงธุรกิจ
“การบินไทย” พร้อมร่วมมือสาธารณสุข ขนส่งวัคซีนโควิด-19 จากจีน
การบินไทย โละขายเครื่องรุ่นจัมโบ้  A380-B777 ล็อต 2 เพิ่มอีก 8 ลำ
เริ่มแล้ว! เปิดวิธีลงทะเบียนรับส่วนลด “เราเที่ยวด้วยกัน” 1 ล้านสิทธิ
คนโสดโปรดรอ! ททท. เตรียมเปิดตัว ‘เส้นทางคนโสด Single Journey
บางกอกแอร์เวย์ ขาดทุนเฉียด 5 พันล้าน ช่วง 9 เดือนแรกปีนี้
13 เม.ย. ห้ามสายการบิน เสิร์ฟอาหาร-เครื่องดื่ม ให้ใส่แมสก์ตลอดเวลา
Bangkok Design Week หนุนกรุงเทพฯ สู่ “เมืองสร้างสรรค์”
การบินไทย ยันโครงสร้างใหม่พนักงานได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
ททท.ภูมิภาคภาคกลางหนุนการเดินทางท่องเที่ยว Lifestyle Travel@ภาคกลาง
ท่องเที่ยวโค้งท้ายสะดุด “โควิดสมุทรสาคร” ทุบมู้ดในประเทศ

Leave a Reply