ปี 2563 ที่ผ่านมานับเป็นปีที่ท้าทายสำหรับธุรกิจท่องเที่
อ่านข่าวต้นฉบับ: รายได้โรงแรม ปี 63 ร่วงหนัก ทุนใหญ่ยังรอด-พอร์ตอาหารหนุน

ปี 2563 ที่ผ่านมานับเป็นปีที่ท้าทายสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวทั่วโลก โดย UNWTO รายงานว่า นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศทั่วโลกลดลงกว่า 1,000 ล้านคน หรือร้อยละ 74 เมื่อเทียบกับปี 2562

สำหรับประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ระบุว่า ในปี 2563 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.7 ล้านคน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 83 ขณะที่คนไทยก็เดินทางภายในประเทศลดลงเช่นกัน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลประกอบการของธุรกิจสายการบิน โรงแรม

โดยในส่วนของธุรกิจสายการบินพบว่า “การบินไทย” มีปริมาณการขนส่งผู้โดยสารลดลงร้อยละ 78.5 มีจำนวนผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 5.87 ล้านคน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 76.1 ทำให้มีรายได้รวม 48,311 ล้านบาท ต่ำกว่าปี 2562 จำนวน 135,735 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 73.8 ขาดทุนสุทธิ 141,180 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 129,163 ล้านบาท

เช่นเดียวกับ บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น ผู้บริหารสายการบิน “ไทยแอร์เอเชีย” ที่มีรายได้รวม 16,237.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 61 เมื่อเทียบกับปี 2562 ขาดทุนสุทธิในส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัท 4,764.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 474 ล้านบาท

สำหรับในฟากของธุรกิจโรงแรมนั้นแม้ว่าจะได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นกัน แต่ดูเหมือนว่ากลุ่มทุนรายใหญ่ที่มีพอร์ตธุรกิจอาหารร่วมด้วยจะยังสามารถประคับประคองธุรกิจอยู่ได้ค่อนข้างดี

โดยจากรายงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระบุว่า ในปี 2563 บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) หรือ CENTEL มีรายได้รวม 13,249 ล้านบาท ลดลง 7,942 ล้านบาท หรือร้อยละ 37 โดยมีสัดส่วนรายได้โรงแรมต่อรายได้ธุรกิจอาหารอยู่ที่ 24 : 76 เปลี่ยนแปลงจากปี 2562 ที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 42 : 58

มีกำไรขั้นต้น 7,150 ล้านบาท ลดลง 33% เมื่อเทียบกับปีก่อน และมีตัวเลขขาดทุนสุทธิ 2,776 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 259% (ปี 2562 กำไร 1,744 ล้านบาท)

ทั้งนี้ หากดูเฉพาะธุรกิจโรงแรมพบว่ามีรายได้รวม 3,117 ล้านบาท ลดลง 5,779 ล้านบาท หรือร้อยละ 65 เมื่อเทียบกับปีก่อน และมีตัวเลขขาดทุนสุทธิ 2,721 ล้านบาท เป็นผลจากอัตราการเข้าพักที่ลดลงจาก 77% เป็น 27% ราคาห้องพักเฉลี่ยลดลง 7% อยู่ที่ 4,149 บาท ส่งผลให้รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ยลดลง 67% อยู่ที่ 1,134 บาท

ขณะที่รายได้ในส่วนของธุรกิจอาหาร มีรายได้รวม 10,132 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18 หรือ 2,163 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2562

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายอดขายโดยภาพรวมจะลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุจากมาตรการห้ามรับประทานอาหารในร้าน แต่บริษัทได้ผลักดันยอดขายผ่านช่องทางใหม่ ๆ โดยเฉพาะช่องทางดีลิเวอรี่ที่เติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 150 หรือมียอดขายรวมถึงราว 2,000 ล้านบาท

เช่นเดียวกับกลุ่มบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT ที่รายงานว่า ปี 2563 ที่ผ่านมามีรายได้รวม 58,118 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 53 (123,358 ล้านบาท) ขาดทุนรวม 19,389 ล้านบาท จากปี 2562 ที่มีกำไร 7,061 ล้านบาท

โดยในส่วนของธุรกิจโรงแรมและธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องมีรายได้รวม 33,846 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 64 โดยได้รับผลกระทบหนักในช่วงไตรมาส 2 แต่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาส 4/2563

ขณะที่ธุรกิจอาหารมีรายได้รวม 20,648 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยมีสาเหตุมาจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อ่อนตัวและการปิดสาขาร้านอาหารบางแห่งเป็นการชั่วคราวในทุกกลุ่มธุรกิจอาหาร โดยเฉพาะในไตรมาส 2

ส่วนกลุ่ม “ดุสิตธานี” มีรายได้สำหรับปี 2563 รวม 3,320 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 45 หรือคิดเป็นจำนวน 2,797 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 1,011 ล้านบาท เทียบกับกำไรสุทธิ 320 ล้านบาทในปี 2562 โดยสาเหตุเกิดจากการลดลงของรายได้จากการขายและการให้บริการ ซึ่งเป็นผลจากไวรัสโควิดตั้งแต่ต้นปี 2563 ซึ่งส่งผลกระทบตั้งแต่ปลายไตรมาส 1 และในไตรมาส 2

“ศุภจี สุธรรมพันธุ์” ซีอีโอกลุ่มดุสิตธานี ระบุว่า ผลประกอบการที่ออกมาเป็นไปตามที่ฝ่ายบริหารคาดการณ์ไว้ เนื่องจากธุรกิจท่องเที่ยวและบริการได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งระลอกแรกในช่วงปี 2563 และระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปีเดียวกัน ทำให้การเดินทางหยุดชะงักและจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง

อย่างไรก็ตาม สำหรับธุรกิจอื่น ๆ ของกลุ่มดุสิตธานียังคงมีแนวโน้มที่ดี โดยธุรกิจการศึกษา ธุรกิจอาหาร ที่ยังมีแผนเติบโตต่อเนื่องจากปี 2563 มีรายได้เป็นไปตามเป้าหมาย

ขณะที่กลุ่ม “ดิ เอราวัณ กรุ๊ป” พบว่าในปี 2563 ที่ผ่านมา มีรายได้รวม 2,306 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 64 เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีรายได้รวม 6,439 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 1,715 ล้านบาท จากที่กำไร 446 ล้านบาทในปี 2562

โดย “ดิ เอราวัณ กรุ๊ป” เป็นกลุ่มทุนโรงแรมที่โฟกัสในธุรกิจโรงแรมเป็นหลักแต่จากตัวเลขผลการดำเนินงานยังจัดว่าได้รับผลกระทบในสัดส่วนที่ไม่มากนัก เนื่องจากเป็นกลุ่มทุนที่มีโรงแรมกลุ่มบัดเจตที่โฟกัสตลาดในประเทศจึงไม่ได้รับผลกระทบหนักตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปกว่า 30 ล้านคน เช่นเดียวกับกลุ่มทุนอื่น

อ่านข่าวต้นฉบับ: รายได้โรงแรม ปี 63 ร่วงหนัก ทุนใหญ่ยังรอด-พอร์ตอาหารหนุน

Credit ข่าวและภาพจาก ฟีดข่าวประชาชาติ : https://www.prachachat.net

Recommend more :

การบินไทย ออกเกณฑ์ใช้ตั๋วเครื่องบินใหม่ ผู้บริหารบินฟรี 15 ปี
ชงเพิ่ม ASQ ทั่วประเทศ รับ “มาตรการ” เปิดรับต่างชาติ
“ศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร” มั่นใจพา ATTA ฝ่าวิกฤตท่องเที่ยว
เปิดแล้ว! “สนามบินภูเก็ต” พร้อมรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1 เมษายนนี้
“ดุสิตธานี” ขาดทุนปี’63 พันล้าน ลุ้นท่องเที่ยวฟื้นครึ่งปีหลังปี’64
“ไทยเวียตเจ็ท” เสริมฝูงบิน บุกเส้นทางบินในประเทศ
อะเมซิ่ง ไทยแลนด์ พลัส กระตุ้น ‘ต่างชาติ’ เที่ยวหลังกักตัว
ลุ้น “วัคซีน” 15.5 ล้านโดส ปูพรม 10 เมืองท่องเที่ยวนำร่อง
“ดุสิตธานี” ฝ่าวิกฤตโควิด-Q1 กวาดกำไร 74 ล้าน
ส.โรงแรม ร่อนหนังสือแจ้งผู้ประกอบการเข้าร่วมเป็น Hospitel รับผู้ป่วยโควิด
ภูเก็ตแซนด์บอกซ์ 1 ก.ค. เปิดแน่นอน โฆษกรัฐบาลย้ำ
นักท่องเที่ยว “คนพิการ” ความท้าทายใหม่อุตฯท่องเที่ยวไทย

Leave a Reply