สคร. เผย “คลัง” ไม่แฮร์คัตหนี้ “การบินไทย” ชี้ภาครัฐไม่
อ่านข่าวต้นฉบับ: “คลัง” ไม่แฮร์คัตหนี้ “การบินไทย” หาช่องเพิ่มทุนเสริมสภาพคล่อง

สคร. เผย “คลัง” ไม่แฮร์คัตหนี้ “การบินไทย” ชี้ภาครัฐไม่มีกฎหมายเอื้อ พร้อมหาช่องเติมสภาพคล่อง “เพิ่มทุน-ให้กู้ด้วยการค้ำ” อุ้มธุรกิจดำเนินกิจการต่อ ชดเชยพนักงานหลังเปิดสมัครใจลาออก คาดเร็ว ๆ นี้ ส่งแผนฟื้นฟูให้เจ้าหนี้พิจารณา ประชุมโหวดแผนครั้งแรก พ.ค. 2564

นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นแผนการฟื้นฟูกิจการให้กับศาลล้มละลายกลาง ช่วงเช้าวันนี้ (2 มี.ค. 2564) จากนั้นจะส่งแผนฟื้นฟูมาให้เจ้าหนี้พิจารณาอีกครั้ง ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังยังไม่ได้รับ คาดว่าหลังจากการบินไทยแถลงข่าวช่วง 14.00 น.นี้ จะส่งแผนมาให้พิจารณา โดยหลักการเบื้องต้น กระทรวงการคลังไม่ได้ลดมูลค่าหนี้คงค้าง (แฮร์คัต) ให้กับการบินไทย แต่มีการขยายเวลา เนื่องจากส่วนของภาครัฐไม่มีกฎหมายมาเอื้อส่วนนี้ จึงไม่สามารถแฮร์คัตหนี้ได้

ปานทิพย์ ศรีพิมล

อย่างไรก็ดี หากจะให้การบินไทยดำเนินการต่อ การบินไทยจะต้องมีสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์การบินในช่วง 1-2 ปีนี้ น่าจะไม่ได้กลับมาเหมือนสถานการณ์ก่อนที่โควิด-19 แพร่ระบาด โดยในการดำเนินกิจการต่อจะต้องมีเงินเข้าไปเสริมสภาพคล่อง รวมทั้งมีในเรื่องของพนักงานที่จะสมัครใจลาออก ต้องมีเงินจ่ายชดเชยส่วนนี้ด้วย ซึ่งกระทรวงการคลังจะต้องมาพิจารณาแนวทางการเพิ่มสภาพคล่องให้ ในลักษณะการเพิ่มทุน หรือการให้กู้ด้วยการค้ำ ซึ่งจะมาพิจาณาข้อจำกัดต่าง ๆ ทางกฎหมายก่อน ขณะนี้ยังไม่เห็นรายละเอียดแผนฟื้นฟูของการบินไทย

“ตัวเลขการเพิ่มทุนที่การบินไทยคาด อยู่ที่ประมาณ 35,000-50,000 ล้านบาท ซึ่งคลังน่าจะไม่ได้เพิ่มทุนเข้าไปให้ทั้งหมด ต้องมาดูข้อจำกัดข้อดีข้อเสียก่อน ส่วนการแฮร์คัตหนี้ของกระทรวงการคลังให้การบินไทยนั้น สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เป็นผู้ดูแล ซึ่งเป็นเงินที่ให้กู้ต่อ การแฮร์คัตหนี้ในส่วนภาครัฐก็จะคงลำบาก แต่เข้าใจว่าได้มีการหารือกับทางผู้จัดทำแผนไปแล้ว และคาดว่าหลังจากการบินไทยยื่นแผนฟื้นฟูแล้ว จะส่งแผนไปให้เจ้าหนี้ แล้วฝ่ายเจ้าหนี้ก็ต้องมาหารือกัน ภายในระยะเวลา 60 วัน ซึ่งจะมีการประชุมโหวดวาระแผนในช่วงเดือน พ.ค. 2564”

ส่วนกรณีที่การบินไทยยังต้องการการลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหมือนที่เคยได้รับตอนมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจนั้น นางปานทิพย์กล่าวว่า ขณะนี้การบินไทยไม่ได้มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงต้องมาดูว่าคนที่จะให้สิทธิจะสามารถให้ได้หรือไม่ เพราะหน่วยงานทั้งหมดที่จะขอสิทธิถ้าไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐแล้ว จะต้องดำเนินการอย่างไร เช่น ในส่วนของกระทรวงการคลัง จะมีกรมศุลกากร ที่จะต้องวางเรื่องของอากร หากไม่ใช่ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ อาจจะต้องมีหลักประกันมาวางค้ำเรื่องของอากร เป็นต้น

ขณะที่การลดค่าเช่ากับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จะมีการทำได้หรือไม่นั้น จะต้องมีการเจรจาร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมาอาจจะมีค่าเช่าเป็นอัตราเช่ารัฐวิสาหกิจด้วยกัน แต่ขณะนี้ก็ต้องเป็นอัตราเช่าที่ 2 หน่วยงานจะต้องหารือกัน

อ่านข่าวต้นฉบับ: “คลัง” ไม่แฮร์คัตหนี้ “การบินไทย” หาช่องเพิ่มทุนเสริมสภาพคล่อง

Credit ข่าวและภาพจาก ฟีดข่าวประชาชาติ : https://www.prachachat.net

Recommend more :

“ทีเส็บ” ผนึกเอกชน 13 สมาคม กระตุ้นอุตสาหกรรมไมซ์ไทยฝ่าโควิด
“Beat Hotel” ปรับโซลูชั่น สู่ “เซอร์วิสเรซิเดนต์”
คิกออฟฟื้นฟู การบินไทย จับตาปัจจัยเสี่ยง โควิด-ราคาน้ำมัน-การเมือง
ท่องเที่ยวฟุบหนักโรงแรมระส่ำ แห่ปิดชั่วคราวตกงานรอบใหม่
“ไทยเวียตเจ็ท” เสริมฝูงบิน บุกเส้นทางบินในประเทศ
“นกแอร์” ฉลุย! แผนฟื้นฟู-ตั้ง “แกรนท์ ธอนตัน-5 กรรมการ” ทำแผน
คำนวณความคุ้ม จ่าย 1 ล้าน นอนโรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ 365 วัน
ท่องเที่ยวโค้งแรกปี’64 สาหัสทั่วหล้ารายได้เข้าไม่เกิน 10%
เส้นตายยื่นแผนฟื้นฟู “การบินไทย” วันนี้ (2 มี.ค.) “คลัง” ไม่ฟันธงเพิ่มทุน
กรมบังคับคดีประกาศให้ “เจ้าหนี้นกแอร์” ยื่นขอชำระหนี้ภายใน 15 ม.ค. 64
“อิมแพ็ค” เขย่าแผนลงทุน 3 ปี ย้ำเป้า “Tourist Attraction” ครบวงจร
อัดโปรระลอกใหม่รับคลายล็อก โรงแรมหรูหั่นค่าห้องดึงคนไทย

Leave a Reply